อบต.รางจรเข้
เข้าสู่ระบบ
User name

รหัสผ่าน



ไม่ได้เป็นสมาชิก?
คลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียน.

ลืมรหัสผ่าน?
ขอรหัสผ่านใหม่.
เมนู










กำลังออนไลน์
· บุคคลทั่วไปออนไลน์: 1

· สมาชิกออนไลน์: 0

· สมาชิกทั้งหมด: 51
· สมาชิกใหม่: Kritchai
สถิติผู้เข้าชม
ฝากข้อความ
ชื่อ:

ข้อความ:

รหัสยืนยัน:


กรอกรหัสยืนยัน:



tipparat
ฝากดูแลเรื่องการเผ
าถ่าน แถว ม.1 ค่ะ เผาแทบทุกเย็น กลิ่นควันรบกวนทุกว
ัน ทำให้เด็กและผู้สูง
อายุเป็นภูมิแพ้ค่ะ

ติ๊ก
ขอสอบถาม

ทดสอบ
ข้อมูลทั่วไป

โลโก้องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้


สภาพทั่วไป


ที่ตั้ง
ตำบลรางจรเข้ เป็นตำบลหนึ่งใน ๑๖ ตำบลของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะห่างจากอำเภอเสนาไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๕ กิโลเมตร


เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๘.๘๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ ๑๑,๗๕๐ ไร่
องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ทิศตะวันออก ติดกับคลองรางจรเข้ มีลำรางหมอเอก ลำรางยายแม้น ลำรางยายไผ่ ลำรางกระเดื่อง และคลองตะเคียนไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาเหมาะสำหรับทำการเกษตร และมีอณาเขตติดต่อดังนี้
-ทิศเหนือ     ติดกับ ต.ลาดงา      อ.เสนา     จ.พระนครศรีอยุธยา
-ทิศใต้ ติดกับ ต.เจ้าเสด็จ   อ.เสนา     จ.พระนครศรีอยุธยา
-ทิศตะวันออก   ติดกับ ต.บ้านโพธิ์   อ.สนา     จ.พระนครศรีอยุธยา
-ทิศตะวันตก     ติดกับ   ต.เต่าเล่า     อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา


จำนวนหมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ แบ่งการปกครองเป็น ๗ หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ ๑ บ้านปลายนาเหนือ
หมู่ที่ ๒ บ้านรางจรเข้
หมู่ที่ ๓ บ้านรางกระเดื่อง
หมู่ที่ ๔ บ้านคลองตะเคียน
หมู่ที่ ๕ บ้านปลายนาเหนือ
หมู่ที่ ๖ บ้านปลายนาเหนือ
หมู่ที่ ๗ บ้านปลายนาใต้
องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ ไม่มีท้องถิ่นอื่น คือไม่มีเทศบาลหรือสภาตำบล ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้

ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ มีจำนวน ๗๒๒ ครัวเรือน จำนวนประชากร ณ เดือน ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ จำนวนทั้งสิ้น ๒,๗๔๙ คน แยกเป็นชาย ๑,๓๑๗ คน เป็นหญิง ๑,๔๓๒ คน ความหนาแน่นเฉลี่ย ๑๔๕.๒๑ คนต่อตารางกิโลเมตร







อำนาจหน้าที่ของ อบต.
อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562)
1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)


2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
(1) จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
(2) การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย


3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
(1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
(2) ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
(6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
(10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
(11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(12) การท่องเที่ยว
(13) การผังเมือง

อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้
1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
5. การสาธารณูปการ
6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9. การจัดการศึกษา
10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14. การส่งเสริมกีฬา
15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25. การผังเมือง
26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28. การควบคุมอาคาร
29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด